โบราณสถานถ้ำเขาสาย(พระผีทำ)
ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ศิลปะ ศรีวิชัย อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
(สันนิษฐานจากรูปแบบพระพิมพ์โดยยังไม่อาจระบุยุคเริ่มต้นและสุดท้ายได้อย่างแท้จริงต้องรอข้อมูลจากการขุดค้นต่อไป)
#ตำนานเรื่องที่มาพระพิมพ์และชื่อเขาสาย สมัยสร้างพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ชาวเมืองใต้เตรียมข้าวของไปร่วมสร้าง แต่ปรากฎว่ายังไปไม่ถึงพระบรมธาตุแล้วเสร็จก่อน ถึงไปก็สายจึงได้ฝังสมบัติใว้ ณ ภูเขานี้แล้วเรียกเขาสายมาจนปัจจุบัน
โดยพระพิมพ์หลายๆ พิมพ์ปรากฎจารึกเย ธมฺมาฯ
#เรื่องเล่าการค้นพบพระพิมพ์ เมื่อ 60 - 70 ปีก่อน มีชาวบ้านมาเลี้ยงวัวในพื้นที่ใกล้ถ้ำและได้ยินเสียงตำครก ดังออกจากถ้ำพอเข้าไปดูก็ไม่มีใคร พบแต่พระพิมพ์วางอยู่บนหินจำนวนมาก จึงได้นำกลับบ้าน แต่พอรุ่งเช้าปรากฎว่าพระกลับมาที่ถ้ำเหมือนเดิม เมื่อมีคนอื่นเอาไปก็เป็นเหมือนกันอีกจึงเรียก " พระผีทำ " และมีความเชื่อว่าเป็นโบราณวัตถุมีอาถรรพ์รักษาใครเอาไปจะมีอันเป็นไป
#การศึกษา 29 พ.ค.2446 (ร.ศ.121) พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้เสด็จมาโบราณสถานถ้ำเขาสาย(พระผีทำ)
ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ศิลปะ ศรีวิชัย อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
(สันนิษฐานจากรูปแบบพระพิมพ์โดยยังไม่อาจระบุยุคเริ่มต้นและสุดท้ายได้อย่างแท้จริงต้องรอข้อมูลจากการขุดค้นต่อไป)
#ตำนานเรื่องที่มาพระพิมพ์และชื่อเขาสาย สมัยสร้างพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ชาวเมืองใต้เตรียมข้าวของไปร่วมสร้าง แต่ปรากฎว่ายังไปไม่ถึงพระบรมธาตุแล้วเสร็จก่อน ถึงไปก็สายจึงได้ฝังสมบัติใว้ ณ ภูเขานี้แล้วเรียกเขาสายมาจนปัจจุบัน
โดยพระพิมพ์หลายๆ พิมพ์ปรากฎจารึกเย ธมฺมาฯ
#เรื่องเล่าการค้นพบพระพิมพ์ เมื่อ 60 - 70 ปีก่อน มีชาวบ้านมาเลี้ยงวัวในพื้นที่ใกล้ถ้ำและได้ยินเสียงตำครก ดังออกจากถ้ำพอเข้าไปดูก็ไม่มีใคร พบแต่พระพิมพ์วางอยู่บนหินจำนวนมาก จึงได้นำกลับบ้าน แต่พอรุ่งเช้าปรากฎว่าพระกลับมาที่ถ้ำเหมือนเดิม เมื่อมีคนอื่นเอาไปก็เป็นเหมือนกันอีกจึงเรียก " พระผีทำ " และมีความเชื่อว่าเป็นโบราณวัตถุมีอาถรรพ์รักษาใครเอาไปจะมีอันเป็นไป
#การศึกษา 29 พ.ค.2446 (ร.ศ.121) พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้เสด็จมาโบราณสถานถ้ำเขาสาย(พระผีทำ)
ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ศิลปะ ศรีวิชัย อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
(สันนิษฐานจากรูปแบบพระพิมพ์โดยยังไม่อาจระบุยุคเริ่มต้นและสุดท้ายได้อย่างแท้จริงต้องรอข้อมูลจากการขุดค้นต่อไป)
#ตำนานเรื่องที่มาพระพิมพ์และชื่อเขาสาย สมัยสร้างพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ชาวเมืองใต้เตรียมข้าวของไปร่วมสร้าง แต่ปรากฎว่ายังไปไม่ถึงพระบรมธาตุแล้วเสร็จก่อน ถึงไปก็สายจึงได้ฝังสมบัติใว้ ณ ภูเขานี้แล้วเรียกเขาสายมาจนปัจจุบัน
โดยพระพิมพ์หลายๆ พิมพ์ปรากฎจารึกเย ธมฺมาฯ
#เรื่องเล่าการค้นพบพระพิมพ์ เมื่อ 60 - 70 ปีก่อน มีชาวบ้านมาเลี้ยงวัวในพื้นที่ใกล้ถ้ำและได้ยินเสียงตำครก ดังออกจากถ้ำพอเข้าไปดูก็ไม่มีใคร พบแต่พระพิมพ์วางอยู่บนหินจำนวนมาก จึงได้นำกลับบ้าน แต่พอรุ่งเช้าปรากฎว่าพระกลับมาที่ถ้ำเหมือนเดิม เมื่อมีคนอื่นเอาไปก็เป็นเหมือนกันอีกจึงเรียก " พระผีทำ " และมีความเชื่อว่าเป็นโบราณวัตถุมีอาถรรพ์รักษาใครเอาไปจะมีอันเป็นไป
#การศึกษา 29 พ.ค.2446 (ร.ศ.121) พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้เสด็จมาโบราณสถานถ้ำเขาสาย(พระผีทำ)
ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ศิลปะ ศรีวิชัย อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
(สันนิษฐานจากรูปแบบพระพิมพ์โดยยังไม่อาจระบุยุคเริ่มต้นและสุดท้ายได้อย่างแท้จริงต้องรอข้อมูลจากการขุดค้นต่อไป)
#ตำนานเรื่องที่มาพระพิมพ์และชื่อเขาสาย สมัยสร้างพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ชาวเมืองใต้เตรียมข้าวของไปร่วมสร้าง แต่ปรากฎว่ายังไปไม่ถึงพระบรมธาตุแล้วเสร็จก่อน ถึงไปก็สายจึงได้ฝังสมบัติใว้ ณ ภูเขานี้แล้วเรียกเขาสายมาจนปัจจุบัน
โดยพระพิมพ์หลายๆ พิมพ์ปรากฎจารึกเย ธมฺมาฯ
#เรื่องเล่าการค้นพบพระพิมพ์ เมื่อ 60 - 70 ปีก่อน มีชาวบ้านมาเลี้ยงวัวในพื้นที่ใกล้ถ้ำและได้ยินเสียงตำครก ดังออกจากถ้ำพอเข้าไปดูก็ไม่มีใคร พบแต่พระพิมพ์วางอยู่บนหินจำนวนมาก จึงได้นำกลับบ้าน แต่พอรุ่งเช้าปรากฎว่าพระกลับมาที่ถ้ำเหมือนเดิม เมื่อมีคนอื่นเอาไปก็เป็นเหมือนกันอีกจึงเรียก " พระผีทำ " และมีความเชื่อว่าเป็นโบราณวัตถุมีอาถรรพ์รักษาใครเอาไปจะมีอันเป็นไป
#การศึกษา 29 พ.ค.2446 (ร.ศ.121) พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้เสด็จมาโบราณสถานถ้ำเขาสาย(พระผีทำ)
ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ศิลปะ ศรีวิชัย อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
(สันนิษฐานจากรูปแบบพระพิมพ์โดยยังไม่อาจระบุยุคเริ่มต้นและสุดท้ายได้อย่างแท้จริงต้องรอข้อมูลจากการขุดค้นต่อไป)
#ตำนานเรื่องที่มาพระพิมพ์และชื่อเขาสาย สมัยสร้างพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ชาวเมืองใต้เตรียมข้าวของไปร่วมสร้าง แต่ปรากฎว่ายังไปไม่ถึงพระบรมธาตุแล้วเสร็จก่อน ถึงไปก็สายจึงได้ฝังสมบัติใว้ ณ ภูเขานี้แล้วเรียกเขาสายมาจนปัจจุบัน
โดยพระพิมพ์หลายๆ พิมพ์ปรากฎจารึกเย ธมฺมาฯ
#เรื่องเล่าการค้นพบพระพิมพ์ เมื่อ 60 - 70 ปีก่อน มีชาวบ้านมาเลี้ยงวัวในพื้นที่ใกล้ถ้ำและได้ยินเสียงตำครก ดังออกจากถ้ำพอเข้าไปดูก็ไม่มีใคร พบแต่พระพิมพ์วางอยู่บนหินจำนวนมาก จึงได้นำกลับบ้าน แต่พอรุ่งเช้าปรากฎว่าพระกลับมาที่ถ้ำเหมือนเดิม เมื่อมีคนอื่นเอาไปก็เป็นเหมือนกันอีกจึงเรียก " พระผีทำ " และมีความเชื่อว่าเป็นโบราณวัตถุมีอาถรรพ์รักษาใครเอาไปจะมีอันเป็นไป
#การศึกษา 29 พ.ค.2446 (ร.ศ.121) พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้เสด็จมาโบราณสถานถ้ำเขาสาย(พระผีทำ)
ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ศิลปะ ศรีวิชัย อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
(สันนิษฐานจากรูปแบบพระพิมพ์โดยยังไม่อาจระบุยุคเริ่มต้นและสุดท้ายได้อย่างแท้จริงต้องรอข้อมูลจากการขุดค้นต่อไป)
#ตำนานเรื่องที่มาพระพิมพ์และชื่อเขาสาย สมัยสร้างพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ชาวเมืองใต้เตรียมข้าวของไปร่วมสร้าง แต่ปรากฎว่ายังไปไม่ถึงพระบรมธาตุแล้วเสร็จก่อน ถึงไปก็สายจึงได้ฝังสมบัติใว้ ณ ภูเขานี้แล้วเรียกเขาสายมาจนปัจจุบัน
โดยพระพิมพ์หลายๆ พิมพ์ปรากฎจารึกเย ธมฺมาฯ
#เรื่องเล่าการค้นพบพระพิมพ์ เมื่อ 60 - 70 ปีก่อน มีชาวบ้านมาเลี้ยงวัวในพื้นที่ใกล้ถ้ำและได้ยินเสียงตำครก ดังออกจากถ้ำพอเข้าไปดูก็ไม่มีใคร พบแต่พระพิมพ์วางอยู่บนหินจำนวนมาก จึงได้นำกลับบ้าน แต่พอรุ่งเช้าปรากฎว่าพระกลับมาที่ถ้ำเหมือนเดิม เมื่อมีคนอื่นเอาไปก็เป็นเหมือนกันอีกจึงเรียก " พระผีทำ " และมีความเชื่อว่าเป็นโบราณวัตถุมีอาถรรพ์รักษาใครเอาไปจะมีอันเป็นไป
#การศึกษา 29 พ.ค.2446 (ร.ศ.121) พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้เสด็จมาโบราณสถานถ้ำเขาสาย(พระผีทำ)
ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ศิลปะ ศรีวิชัย อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15
(สันนิษฐานจากรูปแบบพระพิมพ์โดยยังไม่อาจระบุยุคเริ่มต้นและสุดท้ายได้อย่างแท้จริงต้องรอข้อมูลจากการขุดค้นต่อไป)
#ตำนานเรื่องที่มาพระพิมพ์และชื่อเขาสาย สมัยสร้างพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ชาวเมืองใต้เตรียมข้าวของไปร่วมสร้าง แต่ปรากฎว่ายังไปไม่ถึงพระบรมธาตุแล้วเสร็จก่อน ถึงไปก็สายจึงได้ฝังสมบัติใว้ ณ ภูเขานี้แล้วเรียกเขาสายมาจนปัจจุบัน
โดยพระพิมพ์หลายๆ พิมพ์ปรากฎจารึกเย ธมฺมาฯ
#เรื่องเล่าการค้นพบพระพิมพ์ เมื่อ 60 - 70 ปีก่อน มีชาวบ้านมาเลี้ยงวัวในพื้นที่ใกล้ถ้ำและได้ยินเสียงตำครก ดังออกจากถ้ำพอเข้าไปดูก็ไม่มีใคร พบแต่พระพิมพ์วางอยู่บนหินจำนวนมาก จึงได้นำกลับบ้าน แต่พอรุ่งเช้าปรากฎว่าพระกลับมาที่ถ้ำเหมือนเดิม เมื่อมีคนอื่นเอาไปก็เป็นเหมือนกันอีกจึงเรียก " พระผีทำ " และมีความเชื่อว่าเป็นโบราณวัตถุมีอาถรรพ์รักษาใครเอาไปจะมีอันเป็นไป
#การศึกษา 29 พ.ค.2446 (ร.ศ.121) พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้เสด็จมาศึกษาพระพิมพ์ถ้ำเขาสาย ซึ่งชาวบ้านค้นพบและในการนี้ได้ถวายพระองค์ท่านไปบางส่วนด้วย
และใน พ.ศ.2453 (ร.ศ.128) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในหลายพื้นที่และได้เสด็จถ้ำเขาสายด้วย
ใน 23 มิ.ย.2478 กรมศิลปากรณ์ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานภูเขาสาย เป็นโบราณสถานของชาติ
#ความน่าสนใจ โบราณสถานดังกล่าว อยู่บริเวณต้นแม่น้ำตรัง โดยมีลักษณะเป็นเพิงผาและถ้ำปรากฎศาสนวัตถุ ในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ทั้งพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ จึงเป็ที่น่าสนใจว่าแล้วชุมชนของคนเหล่านี้อยู่ที่ไหน ถ้าอยู่ในถ้ำยังมีอะไรอีกที่ยังไม่ค้นพบ โดยโบราณวัตถุที่ค้นพบมีความสัมพันธ์กับถ้ำเขานุ้ยซึ่งอยู่ห่างกันไม่มาก นอกจากนี้ที่ถ้ำเขาปินะใกล้ๆกันก็มีการค้นพบหม้อสามขาเป็นไปได้หรือไม่ที่อาจเป็นกลุ่มชนเดียวกันอยู่ต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และก็มีความสำคัญในการศึกษาโบราณสถานบริเวณแม่น้ำตรังเป็นอย่ายิ่ง ข้อมูลยังต้องศึกษาอีกมากครับ
ภาพพระพิมพ์ จากป้ายแนะนำโบราณสถาน กรมศิลปากรณ์
ที่มาของชื่อภูเขาสาย
ภูเขาสาย เป็นภูเขาลูกหนึ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีประวัติเล่าว่าในเวลาที่สร้างพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวบ้านแถบหัวเมืองภาคใต้ ได้นำแก้วแหวนเงินทอง ตลอดจนของมีค่าเพื่อไปช่วยสร้างพระบรมธาตุ แต่เมื่อมาถึงตำบลบางดี พระบรมธาตุได้สร้างเสร็จไปเรียบร้อยแล้วถึงไปก็สายเสียแล้ว จึงนำของมีค่าเหล่านั้นไปไว้ในถ้ำ และให้ชื่อ "ภูเขาสาย" แต่นั้นมา
ความเป็นมาของภูเขาสาย
ภูเขาสายตั้งอยู่ไปทางทิศตะวันตกของวัดหูแกง และไม่ห่างจากคลองท่าประดู่(แม่น้ำตรัง)มากนัก เป็นภูเขาที่เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญมาแต่โบราณ เนื่องจากภายในถ้ำได้พบพระพิมพ์ดินดิบสมัยศรีวิชัย( ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ และ ๑๔ - ๑๕) เป็นจำนวนมาก มีถ้ำทั้งด้านตะวันตกและด้านตะวันออกหลังเขา ปากถ้ำเล็กแต่เข้าไปลึก โดยเฉพาะถ้ำทางด้านทิศตะวันตก เข้าไปภายในกว้างประมาณ ๑ ไร่ ภูเขาสายกับภูเขาขาดอยู่ใกล้ติดต่อกัน ชาวบ้านเล่าว่าสมัยก่อนมีพระพิมพ์ดินดิยมาก ขนาดเอามือไปหักทั้งหมดพอรุ่งขึ้นกลับไปดู จะเห็นเป็นพระพิมพ์กลับไปอยู่ในสภาพเดิมอีก และเล่ากันว่า ในเวลากลางคืน วันดี คืนดี จะได้ยินเหมือนคนตำครกอยู่ในถ้ำภูเขาสาย เสียงตำครกนั้นเชื่อกันว่าตำดินปั้นพระพิมพ์ ดังนั้นใครไปหักหรือทำลายทิ้งก็ไม่หมด ฉะนั้นชาวบ้านมีความเชื่อกันว่าผีเป็นผู้ทำ จึงเรียกพระพิมพ์ดินดิบถ้ำภูเขาสายว่า "พระผีทำ" ซึ่งมีทั้งหมด ๔ - ๕ พิมพ์ โดยมากเป็นรูปพระโพธิสัตว์ คือ มีรูปลักษณะ ๑.รูปคล้ายใบโพธิ์ ๒.รูปกลม ๓.รูปคล้ายหยดน้ำ ๔. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อดินสีเทานวลและสีแดงคล้ายดินคลอง
ทางด้านหน้าภูเขาสายจะเป็นหนองน้ำพรุจูดซึ่งเป็นสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ จึงสันนิษฐานได้ว่าในยุคโบราณน้ำทะเลคงจะขึ้นมาสูงถึงตำบลบางดี ตำบลเขากอบ และตำบลนาวง จึงเรียกสถานที่นั้นว่าพรุจูด นอกจากนี้ยังมีป่าพรุ ต้นจูด ต้นเสม็ด และพืชพรรณน้ำกร่อยยังขึ้นอยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งปัจจุบันพรุจูดได้รับการพัฒนาให้สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้(น่าเสียดายที่เสียสภาพเดิมไป น่าจะเป็นแหล่งศึกษาของคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี)
จากการสำรวจถ้ำภูเขาสายพบว่าพบถ้ำหลักอยู่ ๒ ถ้ำ ด้วยกัน คือ ถ้ำเล็กและถ้ำใหญ่ โดยเฉพาะในถ้ำใหญ่ภายในมีพื้นที่กว้างมาก มีหินงอก หินย้อยลักษณะต่างๆกัน จึงมีผู้ตั้งชื่อตามลักษณะที่พบเห็น ดังนี้
- ถ้ำพระ
- ถ้ำเทพนิมิตร
- ถ้ำเหล็กไหล
- ถ้ำพระผีทำ
- ถ้ำเทพปักษา
ตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับภูเขาสาย
จากบุคคลในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้ที่ได้สัมผัสกับภูเขาสายโดยตรง
นายฮก พรหมประเสริฐ(ปัจจุบันอาย ๘๖ ปี นับเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑) อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ ตำบลบางดีอำเภอห้วยยอดจังหวัดตรัง ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๔๖ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เดิมอาศัยอยู่ที่บ้านคลองยา ซึ่งตั้งใกล้กับภูเขาสายมากที่สุด ประมาณ ๕๐๐ เมตร ขณะเมื่ออายุประมาณ ๔๐ ปีเศษ ในราวพ.ศ.๒๕๐๔ ได้เคยขึ้นไปเที่ยวที่ภูเขาสาย พบพระพิมพ์ดินดิบมากมายบนพื้นถ้ำ แต่ไม่สนใจเพราะคนในหมู่บ้านเล่าต่อๆกันมาว่าถึงเก็บมาไว้ที่บ้านพระพิมพ์เหล่านั้นก็จะกลับไปอยู่ที่ถ้ำเหมือนเดิม และคิดว่าไม่รู้จะนำพระพิมพ์เหล่านั้นมาทำประโยชน์อะไรและเมื่อถูกน้ำจะละลายเป็นดินหมด แต่ที่แปลกก็คือ จะไม่มีใครเคยพบเห็นผู้ที่ทำพระพิมพ์เหล่านั้นเลย แต่เคยได้ยินเสียงพูดคุยกันในถ้ำ และเสียงสากกระเบือตำกับครกเท่านั้น เมื่อเข้าไปดูในถ้ำก็ไม่พบเห็นผู้ใดเห็นแต่เพียงสากกระเบือทองคำตั้งอยู่ ตาฮกเล่าต่อไปว่าพระพิมพ์ที่ตนเห็นบางรูปยังเปียกๆอยู่ เห็นลายนิ้วมือติดอยู่ก็มีพระพิมพ์บางรูปเป็นลายเสื่อเหมือนกับจะใช้เสื่อปู่ก่อนพิมพ์พระลงไป และมีตัวหนังสือติดอยู่แต่อ่านไม่ออก พระพิมพ์ที่ตาฮกเห็นจะเป็นรูปพระสี่กร รูปนางสีดา รูปผู้ชายแก้ผ้า และอีกรูปตนจำลักษณะไม่ได้แล้ว ส่วนดินที่นำมาพิมพ์พระก็ได้มากจากดินหนองหว้า ซึ่งเป็นเป็นดินเหนียวริมหนองสีดอกบวบ ซึ่งตนเคยสังเกตเห็นรอยนิ้วมือแกะดินเอาไป ชาวบ้านจึงพากันสันนิษฐานว่าผู้ที่ทำพระพิมพ์น่าจะเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน นั่นก็คือผี แต่ไม่มีใครเคยเห็นตัว
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๒๓ ตาฮกเล่าให้ฟังว่ามีพระภิกษุมาจากเมืองตรังได้มานำพระพิมพ์เหล่านั้นไปได้สองคันรถบรรทุก แต่ก่อนหน้านี้คณะจากกรมศิลปากร กรุงเทพฯ ได้มานำพระพิมพ์และสาดกระเบือทองคำไปแล้ว หลังจากนั้นก็ไม่เคยมีใครได้ยินเสียงตำครกอีกเลย
อาจารย์สมบูรณ์ พรหมประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนาวงได้เล่าเสริมว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๐๖ ซึ่งตนยังเป็นเด็กอยู่ ได้ขึ้นไปเที่ยวกับพระสงฆ์รูปหนึ่งชื่อท่าเดช ท่านเป็นคนเชื้อสายจีน มาจากอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อได้รับฟังคำบอกเล่าจาดตาฮกจึงอยากขึ้นไปดู ขณะที่ท่านเดชเข้าไปในถ้ำ ตนและเพื่อนๆไม่ได้เข้าไปด้วยจึงได้ขุดพบพระพุทธรูปแต่ปรักหักพังหมดแล้ว ท่านเดชได้เข้าไปในถ้ำนานประมาณ ๒ - ๓ ชั่วโมงก็กลับออกมา และได้เล่าให้พวกตนฟังว่าได้พบคนธรรพ์ในถ้ำตนหนึ่ง และได้บอกกับท่านเดชว่าพวกตนเป็นคนทำพระพิมพ์เหล่านั้นเอง แต่ต่อไปจะไม่ทำแล้วเพราะมีคนมารบกวนมากพวกตนจะย้ายไปอยู่ที่อื่น ๒.นายเปรก เกื้อเมฆ ปัจจุบันอายุ ๗๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๔๗ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ในอดีตเคยอาศัยอยู่ที่บ้านคลองยาใกล้ๆกับบ้านของตาฮก เล่าให้ฟังว่าเมื่อตนตนอายุได้ ๒๐ ปี ได้ไปเที่ยวเล่นบนภูเขาสายและทดลองเดินรอบภูเขา ต้องใช้เวลาเดินถึง ๒ วัน ทั้งๆที่ปัจจุบันวัดรอบภูเขาได้ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร เคยพระพิมพ์ดินดิบ เป็นรูพระพุทธและรูปพระอิศวร และ ๒๐ ปีต่อมาหลานชายของตนได้ไปขุดพบพระดินดิบ ซึ่งได้แตกหักไปซีกหนึ่งแล้ว ปัจจุบันตนยังเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานได้ดู
นายสมปอง ทองประดับ ปัจจุบันอายุ ๖๙ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๘/๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เล่าว่า ขณะเมื่อตนอายุได้ ๑๓ ปี ได้นำฝูงควายไปเลี้ยงพร้อมกับเพื่อนๆอีก ๕ คน ที่บริเวณใกล้ภูเขาสาย ด้วยความซุกซนและอยากรู้อยากเห็นตามประสาวัยเด็ก จึงใช้ไม้พาดขึ้นไปทางเข้าสู่ปากถ้ำ ก็พบพระพิมพ์ดินดิบวางเรียงเอาไว้มีทั้งรูปเล็ก รูปใหญ่สวยงามมาก แต่ที่สวยงามมากที่สุดก็คือแบบที่คนถือดอกไม้ ตนยังจำได้ว่าปากทางเข้าถ้ำมีตัวกงนั่งเฝ้าอยู่หนึ่งตัว หากพวกตนจะเข้าถ้ำต้องกระโดดข้ามไปเพราะความกลัว และเพราะความซุกซนของตนได้เข้าไปหักคอรูปพระพิมพ์ดินดิบ แล้วไปแอบดูว่ามีใครมาทำใหม่หรือไม่แต่ไม่ปรากฏว่าเห็นว่ามีผู้ใดออกมา แต่เมื่อออกจากถ้ำมาและกลับเข้าไปใหม่ พระพิมพ์ดินดิบเหล่านั้นก็กลับอญุ่ในสภาพเดิม ทำให้พวกตนสนใจและได้เก็บพระพิมพ์ดินดิบ ประมาณ ๓๐ - ๔๐ รูปใส่ผ้าขาวม้านำกลับบ้าน ถึงแม้เคยได้ยินผูใหญ่พูดกันว่าพระพิมพ์เหล่านั้นจะไม่อยู่กับใคร ดังนั้น เมื่อนำกลับมาถึงบ้านจึงได้นำปูนขาวที่ใช้กินกับหมากทำเครื่องหมายไว้ วันรุ่งขึ้นก็พบว่าพระพิมพ์ดินดิบเหล่านั้นหายไปหมด ตนจึงกลับไปดูที่ถ้ำ ก็ปรากฏว่าพระพิมพ์ดินดิบที่ตนทำเครื่องหมายไว้กลับไปอยู่ที่ถ้ำเหมือนเดิม ตนนำพระพิมพ์เหล่านั้นกลับบ้านถึง ๗ ครั้งก็ไม่ได้ผลพระพิมพ์จะกลับไปอยู่ที่เดิมทุกครั้ง จนครั้งสุดท้ายจึงอธิษฐานขอพระไว้ป้องกันตัวจึงได้ไว้ ๑ องค์ แต่ต่อมาตนก็ได้มอบให้พี่ชาย แต่พี่ชายเสียชีวิตแล้วจึงไม่ทราบว่าพระองค์นั้นจะยังคงมีอยู่หรือไม
ข้อความตอนหนึ่งที่สมเด็จบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ บันทึกไว้ในหนังสือ "จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑" (ตรงกับพ.ศ. ๒๔๔๕) ซึ่งเกี่ยวข้องกับถ้ำเขาสายดังนี้
ความว่า "...เวลา ๓.๑๐ กินเข้าแล้วลงเรือขึ้นทางเหนือน้ำ พระยารัษฎาไม่ไปด้วย เพราะเจ็บตีนอักเสบ ลำน้ำไม่สู้กว้างแลตื้นพอใช้ถ่อสบาย ตลิ่งสูงประมาณ ๓ วา สองข้างตลิ่งเป็นต้นไม้ใหญ่โดยมาก เวลาบ่าย ๓.๓๐ ถึงท่าจอดเรือขึ้นเดินไปอีก ๑๗ เส้น ถึงเขาสาย ปากถ้ำสูงกว่าพื้นดินสัก ๘ วา เปนผาชัน เขาต้องทำบันใดให้ขึ้นสองชั้น ในถ้ำพื้นลึกลงไป ถามผู้ใหญ่ผู้นำทางว่าพิมพ์พระอยู่ที่ไหน เขานำไปที่ซอกหิน หยิบขึ้นมาให้เป็นองค์ๆ วางอยู่บนหินเฉยๆ แห้งดีไม่มีชื้น หาได้ถมซับซ้อนจนต้องขุดเช่นวัดหารไม่ น่ากลัวจะเปนของเก็บไว้เอาวางรับเสด็จ ถามเขาว่าที่อื่นมีอีกฤาไม่ เขาบอกมีชี้ไปที่ช่องถ้ำสูงๆ พวกเราขึ้นเที่ยวหาได้มาบ้าง แห้งแตกบ้าง ชื้นเปียกบ้าง เขาว่า พวกจีนขุดขี้ค้างคาวได้ขึ้นมาเอาขึ้นไว้ตามซอกหิน รวมเทวรูปที่ได้ ๖ ชนิด คือ ๑. รูปพระโพธิสัตว์สี่กรนั่งขัดสมาธิ ๒. รูปอย่างเดียวกันแต่ขนาดย่อม ๓. รูปพระโพธิสัตว์สองกรนั่งห้อย ๔. รูปพระโพธิสัตว์สองกรยืน ๕. รูปพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิ ๖. รูปอย่างเดีนวกันแต่องคฺเล็ก ยังมีอีกที่ไม่รู้ว่าอะไร เปนที่เม็ดยอดอะไรก็มี มีลายและชิ้นอะไรแตกๆ มีตราหนังสือ แลมีขอบไม่ซ้ำกับรูปที่ได้ชัดเจนนั้นก็มี แต่ว่าไม่ได้ว่าอะไร เมื่อกำลังหาพอจะเลิกฝนตกกลับไม่ได้เลยหากันต่อไป เมื่อเห็นที่นี่แล้ว ทำให้ความเห็นซึ่งคิดที่ถ้ำวัดหารนั้นละลายไป ด้วยว่าถ้ำเขาสายนี้อยู่ลับสูงขึ้นยากไม่ควรเป็นที่พักเก็บรูปพระ แลรูปพระที่เก็บมาได้ก็ไม่เหมือนกัน ในถ้ำเดียวดินขาวก็มี แดงก็มี ไม่ใช่ทำที่ตำบลนั้นทุกอัน จึงมีความเห็นเปลี่ยนแปลงไป ว่าเปนที่ซ่อนเสียดอกกระมัง เดิมเมืองนี้จะถือศาสนาพุทธฤาพราหมณ์อะไรก็ตามที่ แล้วจะมีแขกศาสนามหมัดมาปกครอง ทำลายศาสนาเก่า ล้างปูชนียสถานต่างๆ พวกศาสนาเก่าจึงนำรูปพระมาซ่อนไว้ตามถ้ำเหล่านี้ เขาว่าถ้ำข้างหลังเขานี้ก็มีพิมพ์เทวรูปอีก ได้สั่งให้กำนัลเขาไปค้นดูพรุ่งนี้ พอฝนซาเวลาบ่าย ๔.๔๐ กลับจากถ้ำมาลงเรือเวลาบ่าย ๔.๕๒ ล่องกลับมาถึงที่พัก เวลาบ่าย ๕.๑๓ พระยารัษฎาให้ยกโอ่งเก่าที่วัดหูแกงมาให้ดู เปนรูปตุ่งน้ำเรานี่เองแต่ปากแบมีหูอย่างใหกระเทียม ๒ หู มีเม็ดรอบปากแลเปนเม็ดวงจับปิ้งที่หูเคลือบยาดำด่างริ้วแดงอย่างแตง ว่าขุดได้ที่ทะเลสองห้อง ได้ให้มิสเตอร์บิดถ่ายรูปไว้ดูด้วย...."
หมายเหตุ
คนธรรพ์ที่กล่าวถึงในถ้ำเขาสาย เป็นคนมีลักษณะพิเศษ ตัวเล็ก มักให้โชคลาภแก่ผู้ที่พบเห็น ดังมีนิทานเล่าเกี่ยวกับคนธรรพ์ไว้ดังนี้ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนธรรพ์ ซึ่งเป็นเรื่องโบราณว่า วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งได้ขึ้นไปตัดต้นไม้บนเขาไชยสน จังหวัดพัทลุง เพื่อนำไปขายในเมือง ปรากฏว่าชายหนุ่มผู้นั้นเกิดหลงทาง หาทางลงจากเขาไม่ได้ จนกระทั่งใกล้ค่ำ จึงได้พบคนธรรพ์ซึ่งอาศัยอยู่บนเขานั้น คนธรรพ์ได้ชี้แนะทางลงจากเขาให้ แต่ก่อนจากกันคนธรรพ์มอบหัวขมิ้นให้ชายคนนั้นจำนวนมาก ให้ชายหนุ่มใส่ย่ามสะพายลงจากเขา แต่เนื่องจากชายหนุ่มแบกไม้ฟืนซึ่งหนักมากอยู่แล้ว จึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องนำหัวขมิ้นให้หนักเข้าไปอีก จึงทิ้งหัวขมิ้นไว้บนเขานำกลับไปบ้านเพียงเหง้าเดียว เมื่อกลับถึงบ้านก็หยิบหังขมิ้นออกมาดู ปรากฏว่าหัวขมิ้นกลับกลายเป็นทองคำ จึงวิ่งกลับขึ้นไปหาดูที่ทิ้งเอาไว้ก็ไม่พบ จึงต้องกลับบ้านด้วยความผิดหวัง
พืชสำคัญที่อยู่บนภูเขาสาย คนทีดำเป็นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่บนภูเขา และมีตำนานเล่ากันมาเกี่ยวกับไม้คนทีดำดังนี้
กาลครั้งหนึ่ง มีชายหนุ่ม ๓ คน ขึ้นไปตัดไม้บนเขาไชยสน ได้ตั้งทับ(ที่อยู่ชั่วคราวหรือแคมป์) ชายหนุ่มทั้ง ๒ คนน จะผลัดกันไปตัดต้นไม้ ครั้งละ ๒ คน และอยู่เฝ้าทับคอยหุงหาอาหาร ๑ คน อยู่มาวันหนึ่งชายหนุ่มที่เฝ้าทับได้ใช้ไม้ชนิดหนึ่งคนข้าวที่หุง เป็นเหตุให้ข้าวที่หุงหมอนั้นเป็นสีดำทั้งหม้อ เพราะไม้ที่ใช้คนข้าวเป็นไม้คนทีดำ เมื่อเพื่อน ๒ คน กลับมาถึงเห็นข้าวมีสีดำก็ไม่กล้ารับประทาน เข้าใจว่าเพื่อนอีกคนหนึ่งวางยาพิษพวกตน จึงโกรธและบังคับให้ชายผู้หุงข้าวกินให้หมดหม้อ เขาจึงกินจนหมดหม้อและได้เกิดพละกำลังขึ้นมหาศาล สามารถถอนต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ ขณะนั้นเมืองว่างเจ้าเมืองลงพอดี และข้าศึกกำลังล้อมเมืองอยู่ด้วย พวกขุนนางและเสนาทั้งหลาย ได้ปรึกษากันแล้วออกประกาศหาคนดีมีฝีมือปราบศึก ถ้าชนะจะยกพระราชธิดาและเมืองให้ชายหนุ่มผู้มีพละกำลังก็รับอาสาปราบข้าศึกด้วยตนเองและ ด้วยพละกำลังมหาศาลก็สามารถรบชนะได้จึงได้อภิเษกกับพระราชธิดาและปกครองบ้านเมืองต่อมา คนทั่วไปเรียกว่า "พระยาแกรก"
นิทานเรื่องนี้ มีแนวคิดที่เน้นสรรพคุณไม้คนทีดำ และชาวบ้านที่อยู่รอบๆภูเขาสายบอกว่าไม้คนทีดำเป็นไม้ที่หายากมากและในแต่ละปีจะมีคนจากสำนักพระราชวังมารับไม้คนทีดำที่ชาวบ้านหาไว้เพื่อนำไปปรุงเป็นยาสมุนไพร และบนภูเขาสายยังไม้หายากอีกชนิดหนึ่งคือไม้จันแดงกับไม้จันขาวซึ่งเป็นไม้หอมที่หายากอีกด้วย
***จากตำนานและจดหมายเหตุดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าโบราณสถาน(ภูเขาสาย)เคยเป็นแหล่งอารยธรรมที่เฟื่องฟูมาก่อน และมีพระพิมพ์ดินดิบเกิดขึ้นจริงแต่ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่า ใครเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด ทราบแต่ว่าบริเวณนี้ยังเป็นดินแดนอาถรรพน์ ยังความฉงนให้กับคนที่มาพบเห็นตราบจนทุกวันนี้ และเป็นที่ท้าทายให้ผู้คนมาเยือนพิสูจน์ความจริง ***
แหล่งที่มาของข้อมูล/ผู้ให้ข้อมูล
๑.สภาวัฒนธรรมอำเภอห้วยยอด
๒.นายฮก พรหมประเสริฐ
๓.นายเปรก เกื้อเมฆ
๔.นายสมปอง ทองประดับ
๕.อาจารย์สมบูรณ์ พรหมประเสริฐ
หนังสืออ้างอิง
นริศรานุวัดติวงศ์,เจ้าพระยา.หนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู.พิมพ์ครั้งที่ ๓.กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์ ประทุม ชุ่มเพ็งพันธ์.ประวัติอารยธรรม ภาคใต้ แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย-กรุงเทพฯ:สุรีธิยาสาส์น.๒๕๔๔,๓๕๖ หน้า